ฮอร์โมนบำบัด

ฮอร์โมนบำบัด

ฮอร์โมนเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ควบคุมกระบวนการต่าง ๆ ในร่างกาย ตั้งแต่ระบบเผาผลาญ อารมณ์ ความรู้สึก ไปจนถึงการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อลำดับของฮอร์โมนขาดความสมดุล อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ได้ ในบทความนี้ เราจะพาคุณไปรู้จักกับฮอร์โมนบำบัด ที่จะช่วยปรับสมดุลให้กับร่างกาย เพื่อให้ทุกคนสามารถตัดสินใจได้อย่างรอบคอบเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเอง

ฮอร์โมนบำบัด คือ

ฮอร์โมนบำบัด คืออะไร

Hormone Therapy หรือการบำบัดด้วยฮอร์โมน เป็นกระบวนการรักษาที่ใช้ฮอร์โมนหรือยาที่มีผลต่อการทำงานของฮอร์โมนในร่างกาย เพื่อปรับสมดุลฮอร์โมนหรือยับยั้งการทำงานของฮอร์โมน โดยเป็นการแก้ปัญหาฮอร์โมนไม่สมดุล ที่มีผลต่อโรคบางชนิด เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก หรือภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลที่เกิดขึ้นตามวัย

ประเภทของฮอร์โมนบำบัด

สามารถแบ่งออกตามวิธีการใช้ได้หลายประเภท โดยขึ้นอยู่กับชนิดของฮอร์โมน สภาพร่างกายของผู้รับการบำบัดด้วยฮอร์โมน และวัตถุประสงค์ของการรักษา โดยสามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้

  • ฮอร์โมนแบบฉีด (Injectable Hormone Therapy) ออกฤทธิ์เร็วและมีประสิทธิภาพสูง เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมระดับฮอร์โมนอย่างแม่นยำ ควรฉีดสัปดาห์ละครั้งหรือทุก 2-4 สัปดาห์
  • ฮอร์โมนแบบรับประทาน (Oral Hormone Therapy) มีความสะดวกและง่ายต่อการใช้ ต้องใช้การรับประทานทุกวัน อาจออกฤทธิ์ช้ากว่าแบบฉีด
  • ฮอร์โมนแบบแผ่นแปะ (Transdermal Patches) เป็นการปล่อยฮอร์โมนอย่างสม่ำเสมอผ่านผิวหนัง ช่วยลดผลข้างเคียงต่อตับจากฮอร์โมนรับประทาน โดยเป็นการเปลี่ยนแผ่นแปะทุก 1-2 วัน
  • ฮอร์โมนแบบเจลหรือครีม (Topical Gels & Creams) สามารถซึมผ่านผิวหนังได้ดี ให้ระดับฮอร์โมนคงที่ ใช้ง่าย แต่ต้องระวังไม่ให้สัมผัสโดยตรงกับผู้อื่น โดยทาบริเวณผิวหนังทุกวัน
  • ฮอร์โมนแบบฝังใต้ผิวหนัง (Hormone Pellets/Implants) สามารถปล่อยฮอร์โมนได้นานหลายเดือน ไม่ต้องรับยาเป็นประจำ ช่วยลดปัญหาลืมรับยา โดยจะเป็นการเปลี่ยนเม็ดฝังทุก 3-6 เดือน
ฮอร์โมนบำบัด

ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการรักษามะเร็ง

ฮอร์โมนบำบัดสำหรับมะเร็ง เป็นแนวทางการรักษาที่ใช้ยาหรือกระบวนการที่ช่วยลดระดับฮอร์โมนหรือบล็อกการทำงานของฮอร์โมนที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งที่ตอบสนองต่อฮอร์โมน ดังนี้

  • มะเร็งเต้านม (Breast Cancer) ซึ่งมะเร็งเต้านมบางชนิดเติบโตขึ้นจากฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือโปรเจสเตอโรน การบำบัดด้วยฮอร์โมนจะช่วยลดระดับฮอร์โมนหรือบล็อกตัวรับฮอร์โมนเพื่อหยุดการเติบโตของเซลล์มะเร็ง โดยจะใช้ในผู้ป่วยที่มี ฮอร์โมนรีเซพเตอร์เป็นบวก
  • มะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate Cancer) เติบโตได้ดีเมื่อมีฮอร์โมนเพศชาย หรือเทสโทสเตอโรน โดยฮอร์โมนบำบัดช่วยลดระดับเทสโทสเตอโรนในร่างกายเพื่อชะลอการเจริญเติบโตของมะเร็ง
ฮอร์โมนบำบัด

ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการปรับฮอร์โมนในวัยทอง

ฮอร์โมนบำบัดในวัยทอง เป็นการรักษาที่ช่วยในการแก้ปัญหาฮอร์โมนไม่สมดุลเมื่ออายุเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะใน สตรีวัยหมดประจำเดือน และ ผู้ชายวัยทอง เพื่อบรรเทาอาการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน

Hormone Therapy ในกลุ่มผู้หญิงวัยทอง

โดยสตรีที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน (อายุประมาณ 45-55 ปี) ร่างกายจะผลิต เอสโตรเจน (Estrogen) และ โปรเจสเตอโรน (Progesterone) ลดลง ส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ ร้อนวูบวาบ เหงื่อออกตอนกลางคืน อารมณ์แปรปรวน รวมไปถึงภาวะช่องคลอดแห้ง และโรคกระดูกพรุน ซึ่งในกลุ่มสตรีวัยทองจะมีวิธีใช้การบำบัดด้วยฮอร์โมน ดังนี้

  • ฮอร์โมนเอสโตรเจนเดี่ยว เหมาะสำหรับการใช้เป็นฮอร์โมนทดแทนสำหรับสตรีที่ผ่าตัดมดลูกแล้ว มีทั้งรูปแบบยาเม็ด แผ่นแปะ เจล หรือสเปรย์
  • ฮอร์โมนรวมเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน สำหรับสตรีที่ยังมีมดลูก เพื่อลดความเสี่ยงของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ลดอาการวัยทองและช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน
  • ฮอร์โมนเฉพาะที่ ใช้เป็นครีมหรือเจลทาบริเวณช่องคลอด เพื่อลดอาการช่องคลอดแห้ง
  • ฮอร์โมนไบโอไอดีนทิคอล เป็นฮอร์โมนที่มีโครงสร้างคล้ายฮอร์โมนธรรมชาติของร่างกาย

Hormone Therapy ในกลุ่มผู้ชายวัยทอง

ระดับเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ลดลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น โดยทั่วไปจะอยู่ที่อายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป ส่งผลให้ร่างกายและจิตใจเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ ตามมา เช่น อ่อนเพลีย ขาดพลังงาน สมรรถภาพทางเพศลดลง อารมณ์แปรปรวน ขาดสมาธิ มวลกล้ามเนื้อลดลง ไขมันสะสมเพิ่มขึ้น ซึ่งในกลุ่มผู้ชายวัยทองจะมีวิธีใช้การบำบัดด้วยฮอร์โมน ดังนี้

  • ยาฉีดเทสโทสเตอโรน ออกฤทธิ์เร็ว มีทั้งแบบฉีดระยะสั้นและระยะยาว
  • เจลเทสโทสเตอโรน ทาลงบนผิวหนัง ดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด
  • แผ่นแปะเทสโทสเตอโรน ติดที่ผิวหนังเพื่อปล่อยฮอร์โมนอย่างต่อเนื่อง
  • ยาเม็ดเทสโทสเตอโรน ใช้รับประทาน แต่ไม่ค่อยนิยมเนื่องจากอาจมีผลต่อตับ

ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศ

ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศ เป็นการใช้ฮอร์โมนเพื่อช่วยให้ร่างกายของบุคคลข้ามเพศ (Transgender individuals) ปรับเปลี่ยนไปตามเพศสภาพที่พวกเขาต้องการ ช่วยให้ลักษณะทางกายภาพและอารมณ์ตรงกับอัตลักษณ์ทางเพศของพวกเขามากขึ้น
ฮอร์โมนบำบัดข้ามเพศ

Hormone Therapy สำหรับกลุ่มผู้หญิงข้ามเพศ

ฮอร์โมนบำบัดสำหรับ หญิงข้ามเพศ (Male-to-Female หรือ MtF) ฮอร์โมนที่ใช้หลัก ๆ ได้แก่ เอสโตรเจน ซึ่งช่วยให้หน้าอกใหญ่ขึ้น ผิวเนียนขึ้น และลดขนตามร่างกาย โดยมีหลายรูปแบบ เช่น ยากิน แผ่นแปะ ฮอร์โมนฉีด หรือเจล นอกจากนี้ยังมีการใช้ สารต้านแอนโดรเจน (Anti-Androgens) เช่น Spironolactone, Cyproterone Acetate และ Bicalutamide เพื่อยับยั้งการผลิต เทสโทสเตอโรน ลดขน เสียงทุ้มต่ำ และกล้ามเนื้อที่เป็นลักษณะทางกายภาพของเพศชาย ในบางกรณีอาจใช้ โพรเจสเตอโรน (Progesterone) เพื่อช่วยเสริมพัฒนาการของเต้านมและช่วยควบคุมอารมณ์แปรปรวน

Hormone Therapy สำหรับกลุ่มผู้ชายข้ามเพศ

ฮอร์โมนบำบัดสำหรับ ชายข้ามเพศ (Female-to-Male หรือ FtM) ใช้ เทสโทสเตอโรน (Testosterone) เป็นหลัก เพื่อช่วยเพิ่มขนตามร่างกาย เสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อ และทำให้เสียงต่ำลง โดยฮอร์โมนนี้มีหลายรูปแบบ เช่น ยาฉีด เจล หรือแผ่นแปะ ผลของฮอร์โมนสามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะ

  • ในช่วง 3-6 เดือนแรก อาจเกิดสิวเพิ่มขึ้น ขนตามร่างกายเริ่มขึ้น และเสียงเริ่มต่ำลง
  • ในช่วง 6-12 เดือน กล้ามเนื้อจะเพิ่มขึ้น ประจำเดือนหยุด และขนขึ้นมากขึ้น
  • เมื่อเข้าสู่ 1-2 ปี ขนบริเวณหน้าอกและหนวดเคราจะเพิ่มขึ้น และเสียงจะเปลี่ยนแปลงเป็นแบบถาวร

ข้อดี-ข้อจำกัด ของการใช้ฮอร์โมนบำบัด

การใช้โปรแกรม Hormone Therapy เป็นทางเลือกที่ดีในการรักษาหรือปรับระดับฮอร์โมนในกลุ่มคนประเภทต่าง ๆ แต่ก็มีข้อดีและข้อจำกัดบางประการที่ควรคำนึงถึง ดังนี้

ข้อดี

  • ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกาย เหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะฮอร์โมนผิดปกติ
  • บรรเทาอาการวัยทอง ลดอาการร้อนวูบวาบ อารมณ์แปรปรวน และภาวะกระดูกพรุน
  • ช่วยรักษามะเร็งที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน เช่น มะเร็งเต้านมและมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • ใช้ในการข้ามเพศ ช่วยให้ร่างกายพัฒนาไปตามเพศสภาพที่ต้องการ
  • ช่วยชะลอวัย (Anti-Aging Therapy) ปรับสภาพผิวให้ดีขึ้น ลดริ้วรอย และเพิ่มพลังงาน
  • ปรับปรุงสุขภาพกระดูก ลดความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุนในวัยสูงอายุ
  • ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ บำรุงสุขภาพทางเพศ ในผู้ที่มีภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ
  • สามารถใช้ร่วมกับการรักษาอื่น ๆ เช่น การผ่าตัดหรือเคมีบำบัดในการรักษามะเร็ง

ข้อจำกัด

  • ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ หากใช้ฮอร์โมนผิดวิธีอาจมีผลข้างเคียงรุนแรง
  • อาจเพิ่มความเสี่ยงของลิ่มเลือดอุดตัน โดยเฉพาะในผู้ที่ใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน
  • อาจเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งเต้านมและมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • อาจส่งผลต่อสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด เพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจและความดันโลหิตสูง
  • อาจมีผลข้างเคียงระยะยาว เช่น น้ำหนักเพิ่มขึ้น ภาวะซึมเศร้า หรืออารมณ์แปรปรวน
  • อาจส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ การใช้ฮอร์โมนในระยะยาวอาจทำให้มีบุตรยากหรือสูญเสียภาวะเจริญพันธุ์ถาวร
  • ไม่สามารถใช้ได้กับทุกคน โดยไม่เหมาะกับผู้ที่มีประวัติโรคหัวใจ ตับ หรือปัญหาหลอดเลือด

ขั้นตอนของการใช้ฮอร์โมนบำบัด

การบำบัดด้วยฮอร์โมนนั้น ควรอยู่ภายใต้ขั้นตอนที่ถูกต้อง เพื่อให้สามารถรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงป้องกันอันตรายจากผลข้างเคียงได้ โดยวิธีการต่าง ๆ มีดังนี้

  • การประเมินและวางแผนการรักษา โดยเข้าพบแพทย์เฉพาะทาง เช่น อายุรแพทย์ต่อมไร้ท่อ สูตินรีแพทย์ แพทย์เวชศาสตร์ชะลอวัย หรือแพทย์ด้านเวชศาสตร์เพศวิถี เพื่อซักประวัติทางการแพทย์ รวมถึงตรวจร่างกายและตรวจเลือด เพื่อนำไปสู่การตรวจฮอร์โมน ค่าตับ ค่าหัวใจ และปัจจัยเสี่ยงของโรคต่าง ๆ
  • การเลือกประเภทของฮอร์โมนและวิธีใช้ แพทย์จะกำหนดชนิดของฮอร์โมน ให้เหมาะสมกับเป้าหมายของผู้รับการบำบัด รวมถึงเลือกใช้วิธีการบำบัดด้วยฮอร์โมนให้เหมาะกับความพร้อมของร่างกาย
  • การเริ่มต้นใช้ฮอร์โมนบำบัด โดยเริ่มใช้ฮอร์โมนในปริมาณต่ำก่อน เพื่อให้ร่างกายปรับตัว พร้อมทั้งติดตามผลการตอบสนองของร่างกาย เพื่อเพิ่มหรือลดปริมาณฮอร์โมนตามความจำเป็น ภายใต้การดูแลของแพทย์
  • การติดตามผลและปรับแผนการรักษา โดยมีการตรวจสุขภาพเป็นระยะ เช่น ตรวจเลือด ตรวจระดับฮอร์โมน และประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ อีกทั้งต้องมีการประเมินอาการและผลลัพธ์ พร้อมทั้งปรับขนาดยาหรือรูปแบบการใช้ฮอร์โมน หากมีผลข้างเคียงหรือผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

คำถามที่พบบ่อย

ไม่แนะนำให้ใช้ฮอร์โมนด้วยตัวเอง เนื่องจากฮอร์โมนภายในของเรามีปริมาณที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล หากใช้ฮอร์โมนเอง อาจทำให้เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับความสมดุลของฮอร์โมนภายในร่างกายได้ ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจฮอร์โมน และใช้ฮอร์โมนตามคำแนะนำของแพทย์
ยาคุมเป็นฮอร์โมนสำหรับเพศหญิง แบ่งเป็นสองประเภท ได้แก่ยาคุมรวม (เอสโตรเจน+โปรเจสเตอโรน) และยาคุมชนิดโปรเจสเตอโรน มีวัตถุประสงค์ใช้ในการคุมกำเนิดสำหรับเพศหญิง แต่อาจมีกลุ่มหญิงข้ามเพศใช้ในการข้ามเพศ ซึ่งไม่แนะนำ เนื่องจากอาจมีผลข้างเคียงตามมา
เบื้องต้นอาจใช้วิธีธรรมชาติ เช่น การนอนหลับให้เพียงพอ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกายและการดูแลสุขภาพเบื้องต้น แต่หากไม่ได้ผล สามารถใช้วิธีการบำบัดด้วยฮอร์โมนช่วยได้
ไม่สามารถบอกระยะเวลาที่ชัดเจนได้ ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและระดับฮอร์โมนของแต่ละคน จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินร่างกาย ประเมินผลหลังทำ และมีการปรับฮอร์โมนเป็นระยะ

ทำไมต้องฮอร์โมนบำบัดที่ Apex

เราขอเป็นตัวเลือกหนึ่งในการให้บริการ ซึ่งเหตุผลที่ควรเลือกเราในการดูแลในเรื่องฮอร์โมน มีดังนี้

  • ทีมแพทย์ผู้ชำนาญการ เรามีแพทย์ผู้ชำนาญการด้านฮอร์โมน ดูแลอย่างใกล้ชิดรวมถึงมีการให้บริการเกี่ยวกับการปรึกษาฮอร์โมน
  • โปรแกรมเฉพาะบุคคล เราปรับสูตรฮอร์โมนให้เหมาะกับสุขภาพและความต้องการของแต่ละคน
  • มาตรฐานที่ถูกยอมรับ เราใช้ฮอร์โมนมีคุณภาพ มีการควบคุมให้ปลอดภัย ผ่านการรับรองจากอย.
  • ผลลัพธ์ชัดเจน รีวิวจริงจากผู้ใช้บริการที่ได้รับการปรับสมดุลฮอร์โมนสำเร็จ


มั่นใจในคุณภาพการให้บริการของเรา และเราสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีจากการรับบริการให้กับทุกคนได้อย่างแน่นอน หากใครสนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถสอบถามเข้ามาได้ในทุกช่องทางเลยนะคะ แล้วพบกันค่ะ

ข้อมูลนี้เฉพาะ Apex Clinic สาขาทองหล่อ ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับเฉพาะบุคคล

ญดา นริลญา Apex Idol
ลงทะเบียนรับส่วนลดพิเศษ
เมื่อลงทะเบียนถือว่าท่านยอมรับ เงื่อนไขการใช้บริการ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว